ห้องเรียน imedtac รวม - imedtac Co., Ltd.

ข่าวสาร 

สุขภาพดิจิทัลกลายเป็นวลีในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพแต่ความหมายที่แท้จริงคืออะไรกันแน่   สุขภาพดิจิทัลคือการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อยกระดับการบริการทางการแพทย์ โดยทั่วไปจะครอบคลุมถึงระบบแพทย์ทางไกล แอปพลิเคชั่นสุขภาพ อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ และบันทึกสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (EHR)   เทคโนโลยีแปลกใหม่นี้ไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อประชากรในพื้นที่ตัวเมืองเท่านั้นแต่ยังส่งผลดีต่อพื้นที่ชนบทที่ด้อยโอกาสในการเข้าถึงการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ   ข้อดีของสุขภาพดิจิทัลในพื้นที่ชนบท  การเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษาสุขภาพ ระบบแพทย์ทางไกล เช่น การวินิจฉัยและให้คำปรึกษาการรักษาผ่านการประชุมทางวิดีโอ ช่วยให้บุคคลในพื้นที่ชนบทหรือพื้นที่ด้อยโอกาสสามารถติดต่อกับคลินิก โรงพยาบาล หรือแพทย์ปฐมภูมิที่อยู่ห่างไกลได้โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไกล ในส่วนนี้ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำ การวินิจฉัยและแผนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพในระยะทางไกลซึ่งแก้ไขปัญหาในส่วนที่บุคลาการทางการแพทย์ในพื้นที่อาจไม่มีความเชี่ยวชาญในการวินิจฉัยโรคนั้นๆ เพิ่มประสิทธิภาพในการดูแล : ในภูมิภาคที่มีข้อจำกัดในด้านทรัพยากรทางการแพทย์นั้นสามารถใช้ระบบแพทย์ทางไกลเพื่อเชื่อมโยงระหว่างคลินิกในท้องถิ่นกับผู้เชี่ยวชาญในตัวเมือง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับบริการดูแลสุขภาพที่ตรงเวลา แม่นยำ และมีคุณภาพสูงมากขึ้น โดยการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญแบบเรียลไทม์ผ่านระบบแพทย์ทางไกลและทีมแพทย์ระยะไกลช่วยปรับปรุงคุณภาพการดูแลสุขภาพโดยรวม...
การเกิดภัยพิบัติส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหายหลายพันราย บ้านเรือนมากกว่า 200 หลังคาเรือน ถูกไฟไหม้ น้ำไม่ไหลและไฟฟ้าดับ รวมถึงสถานพยาบาลได้รับความเสียหาย ในสถานการณ์เช่นนี้ จะทำอย่างไรให้การรักษาทางการแพทย์แก่ผู้ประสบภัยมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับโรงพยาบาล ในเมื่อทรัพยากรทางการแพทย์มีอยู่อย่างจำกัด?  ตามรายงานของ Notaya TV โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยไอจิ (Aichi University Hospital) ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติโดยการส่งโรงพยาบาลตู้คอนเทนเนอร์ (Medical Container)  ตู้คอนเทนเนอร์พิเศษนี้ติดตั้งห้องตรวจประสิทธิภาพเทียบเท่ากับโรงพยาบาล ซึ่งเป็นตู้คอนเทนเนอร์ทางการแพทย์ใหม่ล่าสุดจากบริษัทการแพทย์ของญี่ปุ่น “Sansei” ...
ไม่มีที่ข้อแม้สำหรับข้อผิดพลาดเมื่อมีชีวิตของผู้ป่วยเข้ามาเกี่ยวข้อง ศัลยแพทย์ได้รับการศึกษาและการฝึกอบรมอย่างจริงจังเคร่งครัดเพื่อให้ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดได้อย่างสมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่จำกัดและเวิร์กโฟลว์ที่ไม่มีประสิทธิภาพในห้องผ่าตัดแบบดั้งเดิมยังคงส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและผลลัพธ์ของการผ่าตัด โชคดีที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีทางเลือกที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากกว่า นั่นก็คือห้องผ่าตัดอัจฉริยะ  ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่าห้องผ่าตัดอัจฉริยะทำงานอย่างไร ความแตกต่างเมื่อเทียบกับห้องผ่าตัดแบบดั้งเดิม และกรณีศึกษาในตะวันออกกลาง   ห้องผ่าตัดอัจฉริยะคืออะไร? ลองนึกภาพห้องผ่าตัดอัจฉริยะ หรือที่เรียกว่าห้องผ่าตัดดิจิตอล เป็นศูนย์กลางที่รวมข้อมูลการผ่าตัดทั้งหมดเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ข้อมูลผู้ป่วย ข้อมูลจากซอฟต์แวร์อื่นๆ ภาพCTหรือultrasound รายการตรวจสอบ เครื่องจับเวลา และวิดีโอในห้องผ่าตัด ทุกอย่างจะแสดงบนหน้าจอเดียวที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการเชื่อมต่อแบบดิจิตอลทั้งภายในและภายนอกห้องผ่าตัด  ข้อแตกต่างที่สำคัญที่สุดระหว่างห้องผ่าตัดแบบดิจิตอลกับห้องผ่าตัดแบบแบบดั้งเดิมคือความสามารถในการเชื่อมต่อที่นอกเหนือขอบเขตของห้องผ่าตัด เนื่องจากห้องผ่าตัดแบบดั้งเดิมนั้นแยกตัวออกจากกันอิสระ...
ประสิทธิภาพและความแม่นยำของตู้จ่ายยาอัตโนมัติ (ADC) ได้ปฏิวัติการดูแลสุขภาพแบบสมัยใหม่ ADC เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ปรับปรุงกระบวนการจัดเก็บ จ่ายยา และติดตามยาในสถานพยาบาล ในบทความนี้ เราจะมาดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทำงานของตู้จ่ายยาอัตโนมัติและการใช้งานในโรงพยาบาล   ตู้จ่ายอัตโนมัติทำงานอย่างไร   ตู้จ่ายยาอัตโนมัติมีเวิร์กโฟลว์ที่ออกแบบมาให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ แม้ว่าการใช้ตู้จ่ายยาในทางการแพทย์อาจดูยุ่งยากสำหรับผู้เริ่มใช้ใหม่ แต่ก็มีกระบวนการที่ค่อนข้างเรียบง่าย สามารถเรียนรู้ได้เร็ว กระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย 4 ขั้นตอน: (1) จัดการการเข้าถึงของผู้ใช้, (2) สแกนใบสั่งแพทย์, (3) จ่ายยา,...
นับตั้งแต่การระบาดของ COVID-19 ในปี 2019 สถานพยาบาลก็คลาคล่ำไปด้วยผู้ป่วยจำนวนมากเนื่องจากปัญหาสุขภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ผู้ใช้บริการต้องทนกับการเดินทางและการรอคอยที่ยาวนานกว่าจะได้รับการดูแลรักษา อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีความเคลื่อนไหวที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาและความไม่สะดวกเหล่านี้ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย telehealth และ telemedicine ได้ถูกนำมาใช้เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงแพทย์และบริการด้านสุขภาพจากพื้นที่ห่างไกลและลดความยุ่งยาก แต่อะไรคือประโยชน์ที่แท้จริงของ Telehealth และ Telemedicine? และอะไรคือข้อแตกต่างระหว่าง Telehealth และ Telemedicine? อะไรคือข้อแตกต่างระหว่าง Telehealth และ Telemedicine...
หลายปีที่ผ่านมา การปรับใช้เทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติในโรงพยาบาลเป็นที่แพร่หลายอย่างมากทั่วโลก การเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตโนมัตินั้นก็เพื่อปรับปรุงปัญหาความไร้ประสิทธิภาพต่าง ๆ โดยเฉพาะในด้านการกระจายยา เนื่องด้วยความต้องการด้านบริการสุขภาพเพิ่มขึ้น ระบบจ่ายยาอัตโนมัติจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อกระจายงานเภสัชกรรม ปรับปรุงคุณภาพงานบริการผู้ป่วย ส่งเสริมการทำงานของเจ้าหน้าที่ ลดความผิดพลาดทางการแพทย์ และลดต้นทุนแรงงาน แต่ระบบจ่ายยาอัตโนมัติสำหรับโรงพยาบาลนั้นจะทำประโยชน์ดังที่กล่าวมาข้างต้นและเพิ่มจุดให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างไร?   ทำไมโรงพยาบาลถึงต้องการระบบจ่ายยาอัตโนมัติ? ระบบจ่ายยาแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่จะต้องทำมือและทำโดยเภสัชกรเป็นหลัก เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจะต้องเดินไปมาระหว่างตู้เก็บยา โกดังยา และห้องวิสัญญี เพื่อเบิกยาและของใช้ต่าง ๆ ซึ่งทำให้กระบวนการทำงานของโรงพยาบาลช้าลง เสียเวลาดูแลผู้ป่วยและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้ ข้อบกพร่องในอุตสาหกรรมการบริการสุขภาพเหล่านี้ อาจสร้างความไม่พึงพอใจให้แก่ทีมแพทย์หลายฝ่าย รวมถึงกีดกันผู้ป่วยจากการเข้าถึงสิทธิ์การรักษาที่เท่าเทียม...
1
Scroll to Top