การปรึกษาแพทย์ออนไลน์: ความสะดวกในการดูแลสุขภาพยุคดิจิทัล - imedtac Co., Ltd.

การปรึกษาแพทย์ออนไลน์: ความสะดวกในการดูแลสุขภาพยุคดิจิทัล

ความเสมอภาคด้านสุขภาพ: การเข้าถึงทรัพยากรทางการแพทย์อย่างเท่าเทียมกันทั่วโลก

ความไม่เท่าเทียมกันในด้านการเข้าถึงทรัพยากรทางการแพทย์ยังคงเป็นปัญหาสำคัญระดับโลกจวบจนทุกวันนี้ องค์การอนามัยโลก ( WHO) กล่าวว่าความเสมอภาคด้านสุขภาพ (health equity) หมายถึงการที่ทุกคนสามารถเข้าถึงความต้องการเฉพาะตัวได้โดยไม่โดนคำนึงถึง เชื้อชาติ เพศ อายุ หรือชนชั้นทางสังคม แนวคิดนี้เน้นย้ำว่าทุกคนสามารถเข้าถึงการบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและเหมาะสมได้โดยไม่ถูกคำนึงถึงบริบททางสังคมของพวกเขา

ข้อดีของการปรึกษาแพทย์ออนไลน์

อย่างไรก็ตามทรัพยากรทางการแพทย์ที่ดีที่สุดและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มักกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ในขณะที่พื้นที่ชนบทมีทรัพยากรอย่างจำกัดซึ่งปัญหานี้ยังคงเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกและการจัดสรรทรัพยากรทางการแพทย์ที่มีค่าเหล่านี้อย่างทั่วถึงในทุกพื้นที่ของประเทศนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก แต่ด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล การกระจายทรัพยากรทางการแพทย์เป็นไปได้ง่ายมากขึ้นและยังสามารถช่วยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในตัวเมืองสามารถสื่อสารกับทีมแพทย์ฝั่งท้องถิ่นได้ง่ายซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานทางการแพทย์ในท้องถิ่นได้ สุดท้ายความเสมอภาคด้านสุขภาพจะค่อยๆกลายเป็นจริง

การพัฒนาของการแพทย์ทางไกลและสุขภาพดิจิทัล

สุขภาพดิจิทัล (Digital Health) กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพในด้านการบริการทางการแพทย์ อ้างอิงจาก ”กลยุทธ์ระดับโลกด้านสุขภาพดิจิทัล 2020-2025” ที่เผยแพร่โดยองค์การอนามัยโลก (WHO)  กล่าวว่าสุขภาพดิจิทัลไม่เพียงแต่หมายถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบดั้งเดิม (ICT) เท่านั้นแต่ยังคลอบคลุมถึงเทคโนโลยีเกิดใหม่ (Emerging technology) เช่น อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์ และข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งการบูรณาการเทคโนโลยีเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบทางการแพทย์

การดูแลสุขภาพทางไกลและการแพทย์ทางไกลเป็นสององค์ประกอบที่สำคัญในวงการสุขภาพดิจิตอล ในตอนแรกถูกใช้หลักๆ ในการติดตามสุขภาพและเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ป่วย ต่อมาในภายหลังมีการมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขอุปสรรคด้านระยะทางระหว่างผู้ป่วย ผู้ให้บริการทางการแพทย์ และบริการทางการแพทย์เฉพาะทางผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้การแพทย์ทางไกลยังถูกนำมาประยุกต์ใช้กับสาขาต่างๆ เช่น การถ่ายภาพทางการแพทย์ ( (Medical Imaging) โรคผิวหนัง (Dermatology) และจิตเวชศาสตร์ (Psychiatry)

ข้อจำกัดของการปรึกษาแพทย์ออนไลน์

การแพทย์ทางไกลขึ้นอยู่กับสามองค์ประกอบดังนี้ การติดตามจากระยะไกล (Remote Monitoring), การส่งและรับข้อมูล(Information Transmission), และการสื่อสารแบบโต้ตอบ (Interactive Communication)  โดยมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและมั่นใจว่าบริการมีความปลอดภัยทั้งในด้านกายภาพและข้อมูล อย่างไรก็ตามการแพทย์ทางไกลยังคงต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายมากมาย เช่น ความง่ายในการใช้งานเครื่องมือแพทย์ทางไกล (หมายเหตุ: เครื่องมือใช้งานได้ง่ายแค่ไหน), ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วย (หมายเหตุ: ความคุ้นเคยของผู้ป่วยกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)), ความแตกต่างในประสบการณ์การสื่อสาร และกระบวนการรักษาทางการแพทย์ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงการลงทะเบียน การชำระเงิน และการรับยา สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขผ่านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและการสนับสนุนทางนโยบาย

การแพทย์ทางไกลจะค่อนข้างมีประโยชน์กับทางผู้ป่วยมากกว่าแพทย์ เนื่องจากมันสามารถช่วยให้ผู้ป่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง ในขณะที่แพทย์จะต้องรอข้อมูลต่างๆจากผู้ป่วยซึ่งบางทีอาจจะไม่ประหยัดเวลาสำหรับแพทย์และยังเป็นการเพิ่มเวลาสำหรับการรักษา โดย iMTele จาก Imedtac: โซลูชันการแพทย์ทางไกลที่จะรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย ภาพแบบเรียลไทม์ ข้อมูลสัญญาณชีพ และแหล่งสัญญาณจากภายนอกไว้บนหน้าจอเดียวกัน อินเทอร์เฟซ CMS (ระบบจัดการเนื้อหา) ที่ใช้งานง่าย ช่วยให้แพทย์สามารถจัดการบัญชีและบันทึกหน้าจอได้อย่างสะดวกสำหรับการใช้งานในภายหลัง

ศักยภาพของการแพทย์ทางไกล

ตลาดการดูแลสุขภาพทางไกล (Telecare) มีศักยภาพอย่างมหาศาล โดยเฉพาะในด้านโรคเรื้อรังและการดูแลระยะยาว ครอบครัวสามารถเชื่อมต่อกับศูนย์ดูแลได้ตลอดเวลาด้วยการติดตั้งเซ็นเซอร์ เพื่อให้สามารถติดตามผลแบบเรียลไทม์และรับการแจ้งเตือนล่วงหน้า ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

การส่งเสริมการใช้การแพทย์ทางไกลอย่างมีประสิทธิผล: โซลูชันของการปรึกษาแพทย์ออนไลน์

โรงพยาบาลคริสเตียนจางฮวาในไต้หวัน ได้นำแพลตฟอร์มการแพทย์ทางไกลมาประยุกต์ใช้กับห้องฉุกเฉินในพื้นที่ชนบท เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่สามารถเชื่อมต่อกับแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทที่โรงพยาบาลหลักได้ทันทีหากผู้ป่วยมีอาการต้องสงสัยว่าจะเป็นภาวะเลือดออกในสมองหรืออาการที่มีความเสี่ยงสูงอื่นๆ นอกจากนี้ ผู้ป่วยสูงอายุในพื้นที่ชนบทมักมีโรคร่วมหลายอย่างและต้องการความช่วยเหลือจากสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งการแพทย์ทางไกลสามารถเข้ามามีบทบาทสำคัญในกรณีเหล่านี้ได้

ญี่ปุ่นได้บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์จำนวนมากให้กับยูเครนเพื่อช่วยในการฟื้นฟูประเทศในช่วงสงคราม เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานถูกทำลาย ญี่ปุ่นจึงส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางการแพทย์พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ขนาดใหญ่ เช่น เครื่อง CT และ MRI เนื่องจากตู้คอนเทนเนอร์เหล่านี้สามารถบรรทุกโดยรถบรรทุกคอนเทนเนอร์ทั่วไปเป็นผลให้สามารถส่งอุปกรณ์ไปยังพื้นที่ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ตู้คอนเทนเนอร์แต่ละตู้เชื่อมต่อกับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ผ่านดาวเทียมวงโคจรต่ำ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยในแนวหน้าได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์เฉพาะทางได้ทันที

ปัญหาการกระจายทรัพยากรทางการแพทย์ที่คล้ายกันเกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะประชาชนในพื้นที่ชนบทมีความจำเป็นในการใช้แพลตฟอร์มการแพทย์ทางไกลเพื่อการปรึกษาและการบริการทางการแพทย์ขั้นพื้นฐาน โดยในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม และประเทศอินโดนีเซีย ประชาชนสามารถรับการวินิจฉัยเบื้องต้นผ่านการปรึกษาทางไกล และตัดสินใจว่าจะเดินทางไปยังเขตเมืองเพื่อรับการรักษาต่อหรือไม่

บทสรุป

การพัฒนาสุขภาพดิจิทัล การแพทย์ทางไกล และการดูแลสุขภาพทางไกล กำลังเปลี่ยนแปลงระบบทางการแพทย์ทั่วโลกอย่างค่อยเป็นค่อยไป การนำเทคโนโลยีมาใช้ไม่เพียงแค่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและการเข้าถึงของบริการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ยังช่วยทำให้ความเท่าเทียมทางสุขภาพเป็นจริงมากขึ้นอีกด้วย เชื่อมไปถึงอนาคตที่เราสามารถคาดหวังระบบการดูแลสุขภาพที่มีความเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายที่สมบูรณ์และนวัตกรรมทางเทคโนโลยี

Search
หมวดหมู่
เป็นที่นิยม
ล่าสุด
ที่เกี่ยวข้อง
Scroll to Top